หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

"แกรฟีน" ในน้ำหมึก ผลงานคู่ขนานระดับโนเบล

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์

แค่ 6 ปีที่ "แกรฟีน" ถูกลอกออกจากคาร์บอนในรูปไส้ดินสอ ก็ทำให้ 2 คู่หูศิษย์อาจารย์คว้า "โนเบล" ไปครอง และด้วยวัสดุธรรมดาๆ อย่างเทปกาวได้ช่วยให้ทั้งสองคนแปะป้ายความหวัง "วัสดุแห่งอนาคต" ซึ่งทั่วโลกต่างจับตาและหันหน้ามาศึกษา รวมถึงนักวิจัยไทยด้วย              
           
ปกติไม่มีหรอกที่จะค้นพบเพียง 5-6 ปี แล้วได้โนเบล ส่วนมากต้องรอกันจนแก่ แต่วัสดุชนิดนี้มีอิทธิพลเยอะมาก" ดร. อดิสร เตือนตรานนท์ ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการนาโนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องกลจุลภาค ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กล่าวถึงรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ประจำ 2010 นี้ที่มอบให้แก่ผู้ค้นพบ "แกรฟีน" (Graphene)
ในห้องปฏิบัติการ

Thai researchers set new record

ที่มา: Bangkok Post
Thai researchers have set a new record by being the first team in the world to synthesise its own proprietary formula graphene polymer conductive ink for use in sensors and displays, which will help to attract foreign investment in upstream technology.
Adisorn Tuantranont, Director of Nanoelectronics and MEMS laboratory at the National Electronics and Computer Technology Centre (Nectec), said after spending six months on research and development, his research team is the first in the world to achieve success in building its own proprietary formula to synthesise graphene polymer conductive ink by using the electrolytic exfoliation method.
          Graphene is the basic building block for other carbon nanomaterials such as 0D buckball, 1D carbon nanotubes and 2D graphite. And it has several advantages such as providing large 2D electrical conductivity, a large surface area, high elasticity, high thermal conductivity and transparency as well as tunable bandgap.

ทีมนักวิจัยเนคเทคประสบความสำเร็จในการสังเคราะห์กราฟีน (Graphene) โดยวิธีการทางเคมีเป็นครั้งแรกของไทย

ที่มา: NECTEC Thailand
ทีมนักวิจัยเนคเทคประสบความสำเร็จในการสังเคราะห์กราฟีน (Graphene) โดยวิธีการทางเคมีเป็นครั้งแรกของไทยและเป็นทีมแรกที่สามารถผลิตกราฟีนผสมในหมึกนำไฟฟ้า ใช้สร้างอุปกรณ์ซุปเปอร์เซ็นเซอร์ราคาถูกด้วยการพิมพ์อิงค์เจ็ต
กราฟีนเป็นวัสดุมหัศจรรย์ใหม่ล่าสุดที่ประกอบด้วยชั้นของคาร์บอนอะตอมที่หนาเพียง 1 ชั้น มีลักษณะเป็นแผ่นที่มีโครงสร้าง 2 มิติเหมือนตาข่ายรูปหกเหลี่ยมคล้ายรังผึ้ง โดยมีความหนาเท่ากับความหนาของคาร์บอนเพียงอะตอมเดียว หรือประมาณ 0.34 นาโนเมตร  กราฟีนมีคุณสมบัติที่น่าทึ่งหลายอย่าง เช่น เป็นวัสดุที่แข็งแรงกว่าเหล็กกล้าหลายร้อยเท่าและแม้แต่เพชร สามารถยืดหยุ่นได้ถึงร้อยละ 20 สามารถนำไฟฟ้าได้ดีกว่าทองแดงหลายเท่า และยังใสโปร่งแสง นอกจากนี้อิเล็กตรอนที่อยู่บนโครงสร้างของแผ่นกราฟีน สามารถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเกือบเท่ากับแสง คาดหวังว่ากราฟีนจะเปลี่ยนโฉมหน้าของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ทึ่ง! ไทยพลิกโฉมวิจัย “กราฟีน” สำเร็จในจักรวาล

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์

กราฟีนที่พิมพ์แล้ว
เผยทีมนักวิจัยเนคเทค สังเคราะห์กราฟีนสำเร็จ มุ่งเป้าใช้ทำหมึกนำไฟฟ้าสร้างเซ็นเซอร์ และเป็นทีมแรกของโลกที่ผลิตกราฟีนผสมในหมึกนำไฟฟ้าใช้สร้างอุปกรณ์ราคาถูก ด้วยการพิมพ์อิงค์เจ็ต ก่อนพลิกโฉมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์...
     20 ต.ค. นายอดิสร เตือนตรานนท์ ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการนาโนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องกลจุลภาค ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค กล่าวว่า กว่า 6 เดือน ที่ทีมงานวิจัยกราฟีน ประสบความสำเร็จในการสังเคราะห์กราฟีนด้วยเทคนิคเคมีไฟฟ้า ลอกเอาแผ่นกราฟีนบริสุทธิ์ออกจากขั้วกราไฟต์ และผสานเข้าไปในเนื้อพอลิเมอร์นำไฟฟ้าทำให้ได้หมึกนำไฟฟ้าที่สามารถนำไป พิมพ์เป็นอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยเทคนิคอิงค์เจ็ตราคาถูก

ทั้งนี้ กราฟีนเป็นวัสดุมหัศจรรย์ใหม่ ประกอบด้วย ชั้นของคาร์บอนอะตอมที่หนาเพียง 1 ชั้น มีลักษณะเป็นแผ่นที่มีโครงสร้าง 2 มิติ เหมือนตาข่ายรูปหกเหลี่ยมคล้ายรังผึ้ง โดยมีความหนาเท่ากับความหนาของคาร์บอนเพียงอะตอมเดียว หรือประมาณ 0.34 นาโนเมตร กราฟีนมีคุณสมบัติที่น่าทึ่งหลายอย่าง อาทิ เป็นวัสดุที่แข็งแรงกว่าเหล็กกล้าหลายร้อยเท่าและแม้แต่เพชร สามารถยืดหยุ่นได้ถึง 20% สามารถนำไฟฟ้าได้ดีกว่าทองแดงหลายเท่า และยังใสโปร่งแสง นอกจากนี้ อิเล็กตรอนที่อยู่บนโครงสร้างของแผ่นกราฟีน สามารถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเกือบเท่ากับแสง

เจ๋ง! นักวิจัยไทยสังเคราะห์ “กราฟีน” ได้จริงในแล็บ

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
ดร.อดิสร กับน้ำหมึกนำไฟฟ้าที่ผสมกราฟีน (มือขวา) และโครงสร้างอุดมคติของกราฟีน (มือซ้าย)
เป็นความตื่นเต้นลึกๆ ของคนทำวิจัยในเรื่องเดียวกัน เมื่อผู้บุกเบิกการสังเคราะห์ กราฟีนคว้ารางวัลโนเบลไปในปีนี้ และความตื่นเต้นยิ่งเพิ่มขึ้นไปอีก เมื่อภาพถ่ายระดับนาโนชี้ชัดว่า สิ่งที่นักวิจัยของไทยสังเคราะห์ขึ้นมานั้นเป็นวัสดุชนิดเดียวกัน 
         เมื่อ 6 เดือนก่อน ดร. อดิสร เตือนตรานนท์ ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการนาโนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องกลจุลภาค ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) พร้อมทีมวิจัยมีแนวคิดที่จะพัฒนาเซนเซอร์ซึ่งมีความไวมากขึ้นโดยใช้เทคนิคการพิมพ์ จึงสนใจสังเคราะห์กราฟีน (Graphene) ขึ้นมาเป็นส่วนผสมของน้ำหมึก แทนที่จะซื้อมาผสมเหมือนงานวิจัยที่มีอยู่ทั่วโลก
       
       ทั้งนี้ กราฟีนเป็นวัสดุชนิดใหม่และเป็นอีกรูปแบบในการจัดเรียงตัวของคาร์บอนเป็น 2 มิติ คือมีเพียงความกว้างและความยาว โดยมีความหนาเพียงอะตอมชั้นเดียว ซึ่งความหนาอุดมคติของกราฟีนอยู่ที่ 0.335 นาโนเมตร แต่ยังไม่เคยมีใครวัดได้จริง เพราะวัดได้ยากมากเนื่องจากมีอิเล็กตรอนวิ่งอยู่รอบๆ เหมือนเป็นกลุ่มเมฆปกคลุม



นวัตกรรมกราฟิน

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

NECTEC ประสบความสำเร็จในการพิมพ์กราฟีนลงบนพื้นผิวด้วยอิงค์เจ็ต

กราฟีนเป็นวัสดุที่สร้างความหวังให้กับก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องหลังจากที่ IBM สามารถนำมาผลิตทรานซิสเตอร์, ญี่ปุ่นและเกาหลีนำมาผลิตอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์โค้งงอ วันนี้ก็มาถึงเวลาของประเทศไทยที่นักวิจัยจากเนคเทคสามารถพิมพ์กราฟีนนี้ลงบนพื้นผิวด้วยเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตกันได้แล้ว
น้ำหมึกกราฟีนนี้ทำจากกราฟีนที่ผสานเข้ากับพอลิเมอร์นำไฟฟ้า เมื่อพิมพ์ผ่านเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตราคาถูกได้ทำให้มีความเป็นไปได้ที่เราจะสร้างเซ็นเซอร์ราคาถูกประสิทธิภาพสูงได้ในอนาคต
งานวิจัยนี้ค้นคว้าโดยหน่วยปฏิบัติการนาโนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องกลจุลภาค โดย ดร. อดิสร เตือนตรานนท์, ดร. อนุรัตน์ วิศิษฐ์สรอรรถ, นายชาคริต ศรีประจวบวงษ์, และ นายดิษยุทธ์ โภคารัตนกุล และกำลังอยู่ระหว่างการยื่นขอจดสิทธิบัตร